84e16abf 46f8 4499 8b15 4dd11691b9d4 1080
84e16abf 46f8 4499 8b15 4dd11691b9d4 1080
คำศัพท์ภาษาซิงลิชทั่วไปที่คุณต้องฝึกให้เชี่ยวชาญก่อนไปสิงคโปร์
08 เม.ย. 2019ไอเดียBY SweetEscape

ภาษาซิงลิช (สิงคโปร์ปนอังกฤษ) คือภาษาถิ่นของชาวสิงคโปร์ที่อาจฟังดูน่าสับสนมากสำหรับชาวต่างชาติ เพราะภาษาถิ่นนี้เกิดจากการผสานรวม 4 ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ของสิงคโปร์ คือ มาเลย์ จีน/ฮกเกี้ยน ทมิฬ และอังกฤษ เพื่อช่วยให้คุณสามารถสำรวจเส้นทางในสิงคโปร์ท่ามกลางบรรดาพนักงานตามแผงอาหารที่โกปี๊เตี่ยมและคนขับแท็กซี่ทั้งหลาย นี่คือคอร์สสั้นๆ ของเราที่จะมาสอนคำศัพท์ภาษาซิงลิชที่ใช้มากที่สุด ซึ่งคุณจำเป็นต้องเรียนรู้ก่อนที่จะไปพักผ่อนช่วงวันหยุดยาวที่สิงคโปร์!

Alamak (อา-ลา-มัก)

by Terrix for SweetEscape in Singapore

Alamak เป็นคำอุทานที่ใช้แสดงความตกใจ ช็อค หรือตื่นตระหนก เหมือนกับที่เราใช้คำว่า “ไม่นะ!” หรือ "ตายแล้ว!"

ตัวอย่าง: “Alamak! I forgot to bring umbrella!” (ตายแล้ว! ฉันลืมเอาร่มมา)

Kiasu (คี-อา-ซู)

by Matthew for SweetEscape in Singapore

คุณอาจเคยได้ยินมาบ้างว่า ลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของชาวสิงคโปร์คือ 'kiasu' แม้เรื่องนี้จะไม่จริงทั้งหมด แต่คำว่า 'kiasu' ก็ใช้บ่อยมากในการสนทนาประจำวันในหมู่ชาวสิงคโปร์ Kiasu เป็นคำศัพท์ฮกเกี้ยนยอดนิยมที่แปลว่า “กลัวพลาดของดี” ซึ่งใช้อธิบายถึงคนที่เห็นแก่ตัวและพยายามนำหน้าคนอื่นๆ ในทางลบ

ตัวอย่าง: “Those kiasu aunties pushed through the crowd for the free goodies.” (พวกมนุษย์ป้าพวกนั้นเบียดฝูงชนเข้าไปเอาของฟรี)

Tabao (ดา-เบา)

by Eric for SweetEscape in Singapore

เมื่อคุณสั่งอาหารจากศูนย์อาหารราคาประหยัดหรือโกปี๊เตี่ยม คุณป้า (พนักงานร้านแผงลอย) อาจถามคุณว่า 'Zhe Bien hai shi Ta Bao?' และคุณอาจจะงงได้ ไม่ต้องกังวล คุณป้าแค่ถามว่าคุณต้องการทานอาหารในร้านหรืออยากห่อกลับบ้าน เพื่อตอบคำถาม ให้คุณพูดสั้นๆ ว่า 'Zhe Bien' (ที่ร้าน) หรือไม่ก็ 'Ta Bao' (กลับบ้าน) ซึ่งพบได้บ่อยกว่า แล้วทุกอย่างจะเรียบร้อยดี

ตัวอย่าง: “Uncle, one chicken rice, tabao.” (ลุง ข้าวหน้าไก่ที่นึง กลับบ้าน)

Shiok (ชี-โอก)

by James for SweetEscape in Singapore

ที่สิงคโปร์ คุณไม่พูดว่า 'อร่อย' หรือ 'ดีมาก' แต่คุณจะพูดว่า 'Shiok' ซึ่งสามารถใช้เพื่อบรรยายถึงอาหารอร่อย เครื่องดื่มรสชาติดี หรือแม้กระทั่งบริการนวดเท้าที่ยอดเยี่ยม

ตัวอย่าง: “This burger is so juicy, so shiok!” (เบอร์เกอร์นี้ฉ่ำมาก อร่อยมากๆ!)

Chope

by Hisham for SweetEscape in Singapore

เมื่อคุณไปที่โกปี๊เตี่ยมของสิงคโปร์หรือศูนย์อาหารราคาประหยัด คุณอาจพบโต๊ะว่างที่ไม่มีคนนั่งแต่มีแพ็คกระดาษทิชชู่อยู่บนโต๊ะ ถ้าคุณเจอสิ่งนี้ก็อย่าเข้าไปนั่งที่โต๊ะนั้น เพราะโต๊ะถูก 'choped' หรือ 'จองแล้ว' อย่างที่คนท้องถิ่นใช้พูดกัน ที่สิงคโปร์ การวางแพ็คกระดาษทิชชู่เป็นวิธีจองโต๊ะซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในระหว่างที่คุณสั่งอาหารจากแผงลอย

ตัวอย่าง: “Let’s chope the table by leaving a pack of tissues there.” (มาจองโต๊ะด้วยการวางแพ็คกระดาษทิชชู่ตรงนั้นกันเถอะ)

Bo Jio (โบ-ชโย) and Paiseh (ไฟ-เซ)

by Hisham for SweetEscape in Singapore

เมื่อเพื่อนๆ หรือเพื่อนร่วมงานของคุณไปทานมื้อเย็นด้วยกันโดยไม่ชวนคุณ คุณสามารถทำให้พวกเขา paiseh (อาย) ได้ด้วยการพูดว่า bojio ซึ่งเป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงถึงความผิดหวังที่คุณไม่ได้รับเชิญ

ตัวอย่าง: “You guys are having dinner together? Bo jio.” "Oh, sorry-sorry! Paiseh!" (“พวกเธอกินข้าวเย็นด้วยกันเหรอ? ไม่ชวนเลยนะ” "โอ้ โทษทีๆ! อายจัง!")

Can

by Sam for SweetEscape in Singapore

ชาวสิงคโปร์ชอบพูดว่า 'can' ไม่เพียงเพื่ออธิบายว่าบางสิ่งสามารถ/ได้รับอนุญาตให้ทำได้ แต่ยังใช้เพื่อให้ความมั่นใจด้วย แน่นอนว่า พวกเขาเพิ่มคำต่อท้ายของชาวสิงคโปร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีท้ายคำด้วย

ตัวอย่าง: “Can you do this for me?” “Can lah, no worries.” “Can meh?” “Sure can.” (“คุณทำนี่ให้ฉันได้ไหม?” “ได้ๆ ไม่ต้องห่วง” “สามารถไหม?” “ได้แน่นอน”)

Lah, Lor, Leh, Meh

by Eric for SweetEscape in Singapore
by Matthew for SweetEscape in Singapore

คำเหล่านี้เป็นส่วนเล็กๆ ของบทสนทนาซึ่งใช้ต่อท้ายประโยค แต่ละคำมีจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับโทนเสียง วากยสัมพันธ์ และบริบท ไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ใดๆ สำหรับคำต่อท้ายยอดนิยมเหล่านี้ แต่เมื่อคุณชินกับคำเหล่านี้แล้ว คุณก็จะสามารถพูดคำเหล่านี้ท้ายวลีและประโยคได้โดยอัตโนมัติ ลองดูสิ lah... ตัวอย่าง: “Just do it like that, lah” (“ก็แค่ทำแบบนั้น lah” ในที่นี้ “lah” มีความรู้สึกรำคาญแฝงอยู่ แต่ก็สามารถใช้เพื่อจบประโยคได้) “I’ve got no choice, So I just did it, lor.” (“ฉันไม่มีทางเลือก ฉันก็เลยทำ lor.” ในที่นี้ “lor” ใช้เพื่อแสดงการยอมรับหรือปลง) “I didn’t know you have to do it like that, leh.” (“ฉันไม่รู้ว่าคุณต้องทำแบบนั้น leh.” ในที่นี้ “leh” ใช้เพื่อแสดงความไม่แน่ใจ ให้ความรู้สึกสงสัยมากกว่าเมื่อเทียบกับ “lah”.) “Really, meh? You have to do it like that?” (“จริงหรือ meh? คุณต้องทำแบบนั้นเหรอ?” ในที่นี้ “meh” ใช้กับคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบเพื่อแสดงความไม่เชื่อ โดยที่จริงๆ แล้วไม่ได้ตกใจหรือประหลาดใจเลย)

by Matthew for SweetEscape in Singapore
by Matthew for SweetEscape in Singapore
by Matthew for SweetEscape in Singapore

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องการออกเดินทาง ให้ SweetEscape ทำให้ทริปของคุณน่าจดจำ! เราเชื่อมโยงคุณกับช่างภาพมืออาชีพกว่า 2,000 คน ในเมืองกว่า 400 แห่งทั่วโลก คุณเพียงต้องสร้างความทรงจำในระหว่างที่เราถ่ายภาพสวยๆ ในทุกช่วงเวลาของคุณ! (ใช้รหัส FIRSTESCAPE ในการจองเซสชั่น SweetEscape ครั้งแรกของคุณเพื่อรับส่วนลด USD50 แล้วมา #ทำให้ชีวิตน่าจดจำ กันเลย!